ภาษีป้ายคิดยังไง และ แบบไหนที่ต้องเสียภาษีบ้าง
อัพเดทล่าสุด: 8 ธ.ค. 2024
1139 ผู้เข้าชม
ภาษีป้ายเป็นภาษีที่ต้องเสียเป็นประจำทุกปี โดยมีข้อกำหนดที่ถูกบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 มค 2565 โดยมีข้อมูลที่ต้องทราบดังนี้
1. ลักษณะป้ายที่ต้องเสียภาษีและไม่ต้องเสียภาษี
- ป้ายที่ต้องเสียภาษี
- ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น รวมถึงโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ในทุกรูปแบบและทุกวัตถุ
- อักษรภาพ เครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
- ป้ายในห้างสรรพสินค้าที่มีขนาดเกิน 3 ตารางเมตรด้วย
- ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี
- ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณามหรส
- ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อหรือบรรจุสินค้า
- ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
- ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์
- ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นหรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน ทั้งนี้ เพื่อหารายได้ และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตร แต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
- ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่น
- ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ
- ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- ป้ายของโรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น
- ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
- ป้ายของวัดหรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ
- ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ
- ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ได้แก่
- ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ ถนนหรือรถแทรกเตอร์
- ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อน
- ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ โดยมีพื้นที่ไม่เกิน 500 ตารางเซนติเมตร
2. ช่วงเวลาเสียภาษี
- ติดตั้งระหว่างเดือน มกราคม-มีนาคม คิดภาษีป้าย 100%
- ติดตั้งระหว่างเดือน เมษายน -มิถุนายน คิดภาษีป้าย 75% ของอัตราภาษีป้ายทั้งปี
- ติดตั้งระหว่างเดือน กรกฎาคม-กันยายน คิดภาษีป้าย 50% ของอัตราภาษีป้ายทั้งปี
- ติดตั้งระหว่างเดือน ตุลาคม-ธันวาคม คิดภาษีป้าย 25% ของอัตราภาษีป้ายทั้งปี
3. การคำนวณอัตราภาษีป้าย
- ประเภทที่ 1 (ป้ายที่มีตัวอักษรไทยทั้งหมด)
- ข้อความเคลื่อนที่/เปลี่ยนแปลงข้อความได้ เช่น จอ LED = 10 บาท/500 ตร.ซม.
- ไม่มีข้อความเคลื่อนที่ และ เปลี่ยนแปลงข้อความไม่ได้ = 5 บาท/500 ตร.ซม.
- ข้อความเคลื่อนที่/เปลี่ยนแปลงข้อความได้ เช่น จอ LED = 10 บาท/500 ตร.ซม.
- ประเภทที่ 2 (ป้ายที่มีตัวอักษรไทยปนกับภาพ/ภาษาอื่น/เครื่องหมาย)
- ข้อความเคลื่อนที่/เปลี่ยนแปลงข้อความได้ เช่น จอ LED = 52 บาท/500 ตร.ซม.
- ไม่มีข้อความเคลื่อนที่ และ เปลี่ยนแปลงข้อความไม่ได้ = 26 บาท/500 ตร.ซม.
- ประเภทที่ 3 (ป้ายที่ไม่มีตัวอักษรภาษาไทย หรือ อยู่ต่ำกว่าภาษาอื่น)
- ข้อความเคลื่อนที่/เปลี่ยนแปลงข้อความได้ เช่น จอ LED = 52 บาท/500 ตร.ซม.
- ไม่มีข้อความเคลื่อนที่ และ เปลี่ยนแปลงข้อความไม่ได้ = 50 บาท/500 ตร.ซม.
4. จ่ายภาษีป้ายที่ไหน เตรียมเอกสารอะไรบ้าง
- รับแจ้งจากหน่วยงานท้องถิ่นและเตรียมเอกสารคำร้อง ภป.1
- ผู้เสียภาษีเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษี/เลขทะเบียนการค้า
- หนังสือรับรอง กรณีนิติบุคคล
- รูปถ่ายป้าย พร้อมขนาด กว้างxยาว
- ใบอนุญาตติดตั้งป้าย หรือ ใบเสร็จจากบริษัททำป้าย
- ยื่นเอกสารคำร้อง และ เอกสารที่เกี่ยวข้องที่สำนักงานเขต / อบต. / เทศบาล
- ผู้เสียภาษี ที่สะดวกชำระ ภาษีเลยสามารถทำได้ ณ วันและสถานที่ไปยื่นเอกสาร
- ผู้เสียภาษี ยังไม่พร้อมชำระ เจ้าหน้าที่จะออกใบ ปภ.3 เพื่อชำระภายหลัง ภายใน 15 วัน
5. ถ้าไม่ชำระมีบทลงโทษอย่างไร
- หากไม่ยื่นภาษีป้ายภายใน เดือนมีนาคม หรือ หลังติดป้าย 15 วัน จะเสียค่าปรับ 15%
- ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ทำให้เสียค่าภาษีน้อยลงต้องเสียเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษี
- ไม่ชำระเงินภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินเสียเงินเพิ่ม 2 % ต่อเดือนของค่าภาษี
- สำหรับคนที่จงใจให้การเท็จหรือแสดงหลักฐานเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงในกรณีที่จงใจไม่ยื่นแบบเสียภาษี มีโทษปรับ 5,000-50,000 บาท นอกจากนี้ยังมีบทลงโทษสำหรับกรณีที่ขัดขวางหรือไม่ปฏิบัติตามเจ้าหน้าที่ โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับ 1,000-20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับด้วย